การบริหารความเสี่ยงในหน่วยงานและองค์กร เพื่อสร้างความปลอดภัยและความมั่นคงให้กับทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน การบริหารความเสี่ยงเป็นหัวใจสำคัญของความปลอดภัยองค์กร
การบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management) หมายถึง กระบวนการในการระบุและประเมินเหตุการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งส่งผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือที่เรียกว่า “ความเสี่ยง“
ความเสี่ยงคืออะไร และทำไมต้องบริหารจัดการ?
ความเสี่ยง หรือ โอกาสที่จะเกิดความสูญเสีย หรือ เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นภายในหน่วยงานหรือองค์กร ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน ด้านการปฏิบัติงาน ด้านกฎหมาย หรือด้านอื่นๆ การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
- การระบุความเสี่ยง ต้องระบุปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในทุกด้านอย่างครอบคลุม
- การประเมินความเสี่ยง ประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่ละความเสี่ยง เพื่อจัดลำดับความสำคัญ
- การกำหนดกลยุทธ์การจัดการ เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการจัดการกับความเสี่ยง เช่น การหลีกเลี่ยง การลด การถ่ายโอน หรือการยอมรับ
- การดำเนินการตามกลยุทธ์ นำกลยุทธ์ที่กำหนดไว้มาปฏิบัติอย่างจริงจัง
- การติดตามและทบทวน ติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และทบทวนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
การวางแผนและดำเนินการเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการจัดการความปลอดภัย โดยการวางแผนอาศัยวิธีการวางแผนแบบเป็นระบบ (Systemic Approach) เพื่อดำเนินการตามนโยบายอาชีวอนามัย และความปลอดภัยผ่านระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง
- ช่วยป้องกันและลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
- เพิ่มความมั่นคงและความปลอดภัยให้กับหน่วยงานและองค์กร
- สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
- สนับสนุนการตัดสินใจที่ดีขึ้น
การจัดการความปลอดภัยป้องกันความเสียง โดย จป ตำแหน่ง ใดบ้าง
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ทุกระดับมีหน้าที่ควบคุม ความปลอดภัย ป้องกันความเสียง แต่ละระดับจะมีบทบาทและหน้าที่ที่แตกต่างกัน ตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. 2565 มีการกำหนดเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับที่มีความเกี่ยวข้อง คือ
1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร (จป บริหาร)
- มีหน้าที่กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือ และวิเคราะห์งานเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นโดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน (จป หัวหน้างาน)
- มีหน้าที่กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือ และวิเคราะห์งานเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นโดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
3. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค (จป เทคนิค)
- มีหน้าที่วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น โดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
4. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง (จป เทคนิคขั้นสูง)
- มีหน้าที่วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น โดยอาจ
5. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ (จป วิชาชีพ)
- ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้าง ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย วิเคราะห์งาน หาอันตราย กำหนดมาตรการป้องกันเสนอต่อนายจ้างตามที่นายจ้างมอบหมาย
การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรทุกแห่งควรให้ความสำคัญ เพราะจะช่วยสร้างความปลอดภัยและความมั่นคงให้กับองค์กร จป ทุกระดับชั้น ต้องช่วยกันตรวจสอบและดูแล
รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ องค์กรจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมั่นใจ และพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป